อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน 

มีพื้นที่ครอบคลุมอำเภอเมืองปาน อำเภอแจ้ห่มและอำเภอเมืองลำปาง มีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์และเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๓๑ เป็นแนวแบ่งเขตระหว่างลำปางและเชียงใหม่ ฤดูที่เหมาะสำหรับการท่องเที่ยวและมีอากาศเย็นสบาย คือเดือนพฤศจิกายนกุมภาพันธ์ 

สถานที่น่าสนใจในอุทยานฯ 

  • บ่อน้ำร้อนแจ้ซ้อน เป็นแหล่งน้ำพุร้อนทางธรณีวิทยา จำนวน ๙ บ่อ ตั้งอยู่รวมกันในบริเวณพื้นที่ที่ทำการอุทยานฯ น้ำพุร้อนมีอุณหภูมิเฉลี่ย ๗๓ องศาเซลเซียส มีกลิ่นกำมะถันอ่อน ๆ และมีไอน้ำลอยปกคลุมรอบบริเวณ เป็นที่นิยมนำไข่ไก่และไข่นกกระทามาแช่ สำหรับไข่ไก่แช่นานประมาณ ๑๗ นาที ไข่แดงจะแข็งมีรสชาติมันอร่อย ส่วนไข่ขาวจะเหลวคล้ายไข่เต่า
  • น้ำตกแจ้ซ้อน เป็นน้ำตกที่เกิดจากลำน้ำแม่มอญ มีน้ำไหลตลอดทั้งปีและมีแอ่งน้ำรองรับเป็นชั้น ๆ อยู่ ๖ ชั้น มีทางเดินจากบ่อน้ำพุร้อนไปถึงน้ำตก ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ๑ กิโลเมตร
  • น้ำตกแม่มอญ เป็นน้ำตกที่มีน้ำไหลแรงจากหน้าผาสูงลงสู่หุบเหวเบื้องล่าง ไม่เหมาะแก่การเล่นน้ำ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ๕ กิโลเมตร
  • น้ำตกแม่ขุน อยู่ใกล้กับน้ำตกแม่มอญ มีความสูงประมาณ ๑๐๐ เมตร ไหลลงมาบรรจบกับน้ำตกแม่มอญ ต้องเดินทางจากที่ทำการอุทยานฯ ๕ กิโลเมตร นักท่องเที่ยวควรติดต่อเจ้าหน้าที่อุทยานฯ นำทาง
  • ถ้ำผางาม ห่างจากที่ว่าการอำเภอวังเหนือ ๘ กิโลเมตร อยู่บริเวณหน่วยพิทักษ์ฯ ที่แจ้ซ้อน ๓ (ผางามหน่วยนี้อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ๖๐ กิโลเมตร มีถ้ำที่สามารถเข้าไปท่องเที่ยวได้ เช่น ถ้ำฟ้างาม ถ้ำน้ำ และถ้ำหม้อ 
  • ชมดอกเสี้ยวบาน ในเดือนมกราคมกุมภาพันธ์ของทุกปี ดอกเสี้ยวจะบานเต็มผืนป่า นักท่องเที่ยวสามารถขับรถชมได้ตามเส้นทางแจ้ซ้อนบ้านป่าเหมี่ยง ตลอดระยะทาง ๑๘ กิโลเมตร
  • แอ่งน้ำอุ่น อยู่ติดกับบ่อน้ำพุร้อน เป็นแอ่งน้ำที่เกิดจากการไหลมาบรรจบกันของน้ำพุร้อนและน้ำเย็นที่มาจากน้ำตกแจ้ซ้อนทำให้เกิดเป็นน้ำอุ่นที่มีอุณหภูมิเหมาะแก่การลงแช่
  • ห้องอาบน้ำแร่ มีทั้งห้องอาบแช่ สำหรับ ๓๔ คน ห้องส่วนตัว ๕๐ บาท/คน บ่อกลางแจ้ง ๑๐ บาท/คน น้ำแร่ที่ใช้ต่อท่อโดยตรงมาจากบ่อน้ำพุร้อน อุณหภูมิประมาณ ๓๙๔๒ องศาเซลเซียส ประโยชน์ของการอาบน้ำแร่คือ ช่วยบำบัดความเมื่อยล้าของร่างกาย ช่วยให้ระบบไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น แต่ไม่สามารถใช้ดื่มได้เพราะมีแร่ธาตุสูงกว่ามาตรฐาน 

เส้นทางศึกษาธรรมชาติ ๒ เส้นทาง คือ 

  1. เส้นทางศึกษาธรรมชาติน้ำตกแจ้ซ้อน ระยะทางประมาณ ๓ กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ ๑.๓๐ ชั่วโมง ผ่านจุดสื่อความหมาย ๒๔ จุด ผ่านป่าที่มีพันธุ์ไม้ที่น่าสนใจหลายชนิด เช่น ต้นก๋ง กวาวเครือ หรือยางปาย รวมถึงอาจพบสัตว์หายาก เช่น นกเขนเทาหางแดงและปลาปุงแห่งลำห้วยแม่มอญ เป็นเส้นทางที่เหมาะสำหรับศึกษาระบบนิเวศน์ เช่น วงจรชีวิตหนอนรถด่วน และจักจั่นน้ำแร่ ซึ่งมีชุกชุมในเดือนมีนาคมพฤษภาคม สภาพภูมิศาสตร์โดยรอบลานน้ำพุร้อน การเกิดบ่อน้ำพุร้อน สาเหตุที่น้ำพุร้อนทำให้ไข่แดงสุกแต่ไข่ขาวเหลว แอ่งน้ำอุ่นที่เกิดจากน้ำร้อนมาบรรจบกับน้ำเย็น และโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ที่ใช้ผลิตไฟฟ้าได้ถึง ๖๐ กิโลวัตต์  ผู้สนใจสามารถขับรถขึ้นไปดูได้ ระยะทางประมาณ ๕ กิโลเมตร แต่ต้องใช้รถขับเคลื่อน ๔ ล้อ เพราะสภาพทางค่อนข้างชัน 
  2. เส้นทางศึกษาธรรมชาติน้ำตกแม่เปียก ระยะทาง ๓.๗ กิโลเมตร เป็นเส้นทางวงรอบเลียบริมห้วยแม่เปียก ผ่านจุดสื่อความหมาย ๑๙ จุด ใช้เวลาเดินทาง ๒.๓๐ ชั่วโมง ตลอดเส้นทางให้ความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศน์ การนำทรัพยากรป่าไม้มาใช้ประโยชน์ เช่น น้ำมันยาง สารพัดประโยชน์ที่นำมาใช้กับเครื่องยนต์จนถึงทำน้ำมันใส่แผล ไผ่ข้าวหลาม ที่มีเปลือกบางเผาง่าย เมี่ยง (ชาที่ใบอ่อนนำมานึ่งแล้วหมักทำเป็นเมี่ยง นิยมรับประทานเป็นของว่าง ใช้ต้อนรับแขก ยอดอ่อนนำมาอบแห้งแล้วชงกับน้ำร้อนดื่มเป็นชา ซึ่งเมี่ยง (ชามีสารคาเฟอีนออกฤทธิ์เช่นเดียวกับกาแฟ แหย่ง ใบใช้ห่ออาหารแทนใบตอง หรือนำลำต้นไปตากให้แห้งแล้วสานเป็นเสื่อ หรือแม้แต่การสร้าง ฝายน้ำล้น ที่นำไปผลิตไฟฟ้าพลังน้ำเพื่อใช้ภายในอุทยานฯ ระหว่างเส้นทางอาจพบ หมูป่า และเต่าปูลู ที่มีลักษณะไม่เหมือนเต่าทั่วไปและกำลังจะสูญพันธุ์ เต่าปูลูมีหางยาว หัวและขาไม่สามารถหดเข้าไปในกระดองเหมือนเต่าทั่วไป มีความสามารถในการปีนป่ายและกินสัตว์จำพวกปูหรือปลา เป็นอาหาร ในเส้นทางมีน้ำตกวังไฮ และน้ำตกแม่เปียก ซึ่งน้ำตกแม่เปียกนั้นมี ๓ ชั้น ชั้นที่ ๓ มีความสวยงามที่สุด มีความสูงประมาณ ๑๐๐ เมตร ด้านล่างมีแอ่งน้ำ และปกคลุมด้วยกล้วยไม้ป่าที่ขึ้นอยู่ทั่วไป 

สภาพแวดล้อมภายในอุทยานฯ ตกแต่งไว้อย่างสวยงามกลมกลืนกับธรรมชาติ สามารถเที่ยวได้ตลอดปี มีบ้านพักจำนวน ๑๐ หลัง ราคา ๙๐๐,๖๐๐ บาท มีสถานที่กางเต็นท์ คนละ ๓๐ บาท อุทยานฯ มีร้านอาหารสวัสดิการบริการ สอบถามข้อมูล โทร๐๘ ๙๘๕๑ ๓๓๕๕ หรือ กรมอุทยานแห่งชาติฯ โทร๐ ๒๕๖๒ ๐๗๖๐๒ www.dnp.go.th 

การเดินทาง 

รถยนต์ 

  • จากตัวเมืองลำปางใช้ทางหลวงหมายเลข ๑๐๓๕ (ลำปางแจ้ห่มจนถึงกิโลเมตรที่ ๕๘ เลี้ยวซ้ายต่อด้วยทางหลวงหมายเลข ๑๒๘๗ ซึ่งเป็นทางเข้าไปอำเภอเมืองปาน แล้วเลี้ยวขวาที่สามแยกใช้ทางหลวงหมายเลข ๑๒๕๒ (ข่วงกอมปางแฟน๑๑ กิโลเมตรแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าอุทยานฯ ไปตามถนน รพช๓ กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานฯ 

รถโดยสารประจำทาง 

  • จากตัวเมืองลำปางนั่งรถสายลำปางแจ้ซ้อน จากถนนตลาดเก่า ราคาประมาณ ๕๐ บาท ระหว่างเวลา ๐๘.๐๐๑๘.๐๐ นหรือเหมารถประมาณ ๓๕๐ บาท ถึงอุทยานฯ 

Photo gallery